บันทึกอนุทิน
วิชา: การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน:
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี:
2 มกราคม 2557
ครั้งที่
9 เวลาเรียน 8:30 น. เวลาอาจารย์เข้าสอน 8:30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20น.
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
วันนี้อาจารย์ทบทวนมาตรฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มี 6 ระดับ
1.มาตรฐานจำนวนและการดำเนินการ
2.มาตรฐานพีชคณิต
3.มาตรฐานเรขาคณิต
4.มาตรฐานการวัด
5.มาตรฐานการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
6.มาตรฐานกระบวนการ
เรื่องกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
1.กิจกรรมกลางแจ้ง
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (วงกลม)
3.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
4.กิจกรรมเกมการศึกษา
5.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
6.กิจกรรมเล่นเสรี
โดยกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมนี้มาจากสภาพแวดล้อม จากการเรียนการสอน มารวมกันเป็นก้อน รวมเป็นหลักสูตร
-สภาพแวดล้อม เช่น การเอื้อต่อการเรียนรู้
-การจัดการเรียนการสอน เช่น กระบวนการ, สื่อ ,หลักกการ, การประเมิน ,วัตถุประสงค์
-การเรียนรู้ เช่น การบรูณาการ
-บริบทของสังคม
และ 6กิจกรรมนี้ พัฒนาทั้ง 4 ด้านด้วย คือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา
สาระคณิตศาสตร์ต้องใช้ภาษาเป็นการช่วย
เช่น การนับ, สัญลักษณ์ ,ข้อตกลง ,การเพิ่มลดจำนวน ,การเคลื่อนที่แบบมีทิศทาง, เวลา ,เกณฑ์ เป็นต้น
กิจกรรมกลางแจ้งที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังกาย
เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดความสนใจและความสามารถของเด็ก
กิจกรรมกลางแจ้งกับคณิตศาสตร์
กิจกรรมเสริมประสบการณ์(วงกลม)ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- อาจารย์จะมาสอนในสัปดาห์หน้า
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับคณิตศาตร์
- เด็กจะได้เกี่ยวกับรูปทรง แบบรูป การคิดแก้ปัญหา
ตำแหน่ง ขนาด รูปร่าง การวัด ทิศทาง การประมาณ การคาดคะเน การออกแบบ การเชื่อมโยง
เส้นรอบรูป
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์กับคณิตศาสตร์
กิจกรรมเกมการศึกษาที่เกี่ยวคณิตศาสตร์
- โดยจะแบบเกมการศึกษาออกเป็น 7 เกม ดังนี้
1.เกมจับคู่
- จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน
- จับคู่ภาพเงา
- จับคู่ภาพสัมพันธ์
- จับคู่ภาพชิ้นส่วนที่หายไป
- จับคู่ภาพกับโครงร่างฯลฯ
2.เกมจิ๊กซอว์ ภาพตัดต่อ
3.เกมเรียงลำดับ
4.เกมจัดหมวดหมู่
5.เกมโดมิโน
6.เกมลอตโต้
7.เกมความสัมพันธ์สองแกน
|
กิจกรรมเกมการศึกษากับคณิตศาสตร์
|
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตาม
จังหวะ โดยใช้เสียงเพลงคำคล้องจองการปฏิบัติตามสัญญาณ
ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือเสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก
ตีฉิ่ง กลอง ระนาด ฯลฯ มาประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิกสร้างสรรค์
เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาใช้ส่วนต่างๆ ร่างกายยังคงมาผสมผสาน
หรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์มากนัก
การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กอาจยังดูไม่มั่นคง
เด็กได้เกี่ยวกับทิศทาง พื้นที่ สัญลักษณ์ จังหวะ รูปแบบ(ทำตามแบบ)
กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะกับคณิตศาสตร์
กิจกรรมการเล่นเสรีที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- โดยอาจแบ่งเป็นมุมต่างๆ เช่น มุมบ้าน มุมภาษา มุมบล๊อก มุมเกมการศึกษา
มุมครัว มุมช่าง ไม้ มุมห้องนอน มุมหมอ มุมของเล่น มุมร้านค้า เป็นต้น
กิจกรรมมุมห้องเรียน
การนำไปประยุกต์ใช้
1.สามารถนำเกมการศึกษาต่างๆไปปรับใช้และก็และกับเด็กได้
2.สามารถรู้เทคนิคในการจัดมุมได้หลากหลายรูปแบบ
3.สามรถวางแผนในการจัดกิจกรรมในแต่ละการสอนได้อย่างถูกต้อง
ประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งใจเรียน สามารถตอบคำถามอาจรย์ได้เป็นบางคำ
ประเมินเพื่อน
- วันนี้เพื่อนๆตังใจเรียนและฟังอาจารย์สอนไม่ค่อยมีคนพูดเสียงดัง
ประเมินอาจารย์
- สอนเข้าใจในเนื้อหา สอนละเอียดมาก สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้