วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน





วิชา: การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี:  12  ธันวาคม 2556
ครั้งที่ 6  เวลาเรียน 8:30 น. เวลาอาจารย์เข้าสอน 8:30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.

หมายเหตุ  เนื่องจากวันนี้ดิฉันไม่สบาย ปวดท้องเป็นประจำเดือนเลยไปเรียนไม่ได้แต่ดิฉันได้ถามงานจากเพื่อนว่าวันนี้ทำอะไรบ้าง

สรุปจากเพื่อน 
วันี้อาจารย์อาจารย์ทบทวนเรื่องสาระคณิตศาสตร์

"การนำความคิดมานำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยและรวมกับความคิดที่เชื่อมโยงกันและยังมีการบูรณาการกันระหว่างสาระต่างๆจะทำให้เด็กได้รับความรู้อย่างเต็มที่"



การทำกิจกรรมแบบนี้จะทำให้เด็กแยกเวลากลางวัน กลางคืน ได้


กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ให้ฝึกให้เด็กรู้จักการรอคอยเมื่อเด็กมาลงเวลาให้เข้าแถวต่อกันใครมาก่อนอยู่ข้างหน้าและให้เด็กลงเวลา โดยใส่เข็มนาฬิกา ครูจะตั้งนาฬิกาที่มีเข็มไว้เป็นตัวอย่างให้เด็กมีประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง




จากนั้นอาจารย์ก็แจกดินน้ำมันและไม้ลูกชิ้น

 โดยกิจกรรมแรกที่ให้ทำคือ การใช้ดินน้ำมันและไม้ลูกชิ้นประดิษฐ์เป็นรูปสามเหลี่ยมและต่อด้วยรูปทรงสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยม สุดท้ายคือปิซิม ต้องมีอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่าง
 และท้ายคาบอาจารย์ก็ให้ดูสื่อทางคณิตศาสตร์และให้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายในท้ายคาบ

เพลง ขวดห้าใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง(ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับจนกระทั่ง เหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง (จะทำอย่างไรกันดี)

เพลง นกกระจิบ
นั่นนกบินมาลิบๆ
นกกระจิบ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า
อีกฝูงบินล่องลอยมา
หก เจ็ด แปด เก้า สิบ ตัว

เพลง บวก-ลบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำ สี่ ใบ     ครูให้อีก สาม ใบนะเธอ
มารวมกันนับดีๆ              ดูซิเธอรวมกันได้ เจ็ด ใบ
บ้านฉันมีแก้วนะ เจ็ด ใบ  หายไป สาม ใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ      ดูซิเออเหลือเพียงแค่ สี่ ใบ

เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ออกไข่ทุกวัน        หนึ่งวันได้ไข่ หนึ่ง ฟอง
(นับต่อไปเรื่อยๆ)
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน   สิบวันได้ไข่ สิบ ฟอง
เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้ น้องขอให้แบ่งไป หนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป นับดูใหม่เหลือลูกแมวเก้าตัว
(ลดจำนวนลงไปตามลำดับจนกระทั่งเหลือหนึ่งตัว)
ลูกแมวหนึ่งตัวก็เหลือน้อยลงไป นับดูใหม่ไม่เหลือลูกแมวสักตัว


การนำไปประยุกต์ใช้

1. สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กๆได้ โดยการเอาดินน้ำมันไปสอนและนำไปปรับประยุกต์ใช้ให้ดีมากกว่าเดิม
2. สามารถนำเพลงไปปรับปรุงแก้ไขหรือต่อเติมให้มีความสนุกสนานมากกว่าเดิม

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน





วิชา: การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี:  4  ธันวาคม 2556
ครั้งที่ 5  เวลาเรียน 8:30 น. เวลาอาจารย์เข้าสอน 8:30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.





วันนี้ ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันพ่อแห่งชาติตรงกับวันที่ 5  ธันวาคม ของทุกปี 



วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน






วิชา: การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  
อาจารย์ผู้สอน: อาจารย์จินตนา สุขสำราญ 
วัน/เดือน/ปี:   28 พฤศจิกายน 2556 
ครั้งที่ 4  เวลาเรียน 8:30 น. เวลาอาจารย์เข้าสอน 8:30 น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.

ความรู้ที่ได้รับ

-วันนี้อาจารย์พูดถึงบล็อก ให้ตกแต่งให้เอานาฬิกามาไว้ข้างหน้าแต่ลดรูปลง
- มีกิจกรรม โดยอาจราย์ให้กระดาษมา A4 มา 1 แผ่นให้วาดรูปสัตว์ที่มีขา  กิจกรรมนี้ได้ในเรื่องศิลปะ เรื่องการนับจำนวนว่ามีกี่ขา หรือกี่ข้าง หรือเป็นคู่ เช่น มีขาอยู่ 2 คู่ เรียกการจัดกลุ่มจับคู่ทางคณิตศาสตร์ เรื่องพวกนี้เป็นเร่องใกล้ตัวเรา และแม้แต่อวัยวะของเรา เราใช้ประสบการณ์ในการนับ ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์

สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
 - เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็กผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบ มาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยและเพื่อให้เข้าใจตรงกัน จึงได้รวบรวมสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
-เด็กได้ลงมือกระทำประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่าง เช่นการเล่น การเลียนแบบ ลงมือกระทำ 


กิจกรรม การให้นักเเรียนมีส่วนร่วมและได้ลงมือปฎิบัติ ของแต่ละกลุ่มกลุ่มละ 2 คน

กลุ่มที่ 1 
-ให้เด็กได้เปรียบเทียบว่าจำนวนไหนมาก จำนวนไหนน้อย คือ 3 > 2 โดยมีกราฟแสดงและก็บอกว่าเป็นชายหรือหญิง
-การรวมกลุ่มเพื่อใช้จำนวนมากขึ้น(+)
-การแยกจำนวนต่างๆออกจากกลุ่มใหญ่แล้วบอกจำนวนที่เหลือ(-)
กลุ่มที่ 2
-สรุปเนื้อหาคือมีการกระโดดให้กระต่ายนับจำนวน กระต่ายผู้ชายและกระต่ายผู้หญิงรวมกันมีกี่ตัว อาจจะบรูณาการได้โดยการกระโดดและเคาะจังหวะ 1 ครั้งให้กระต่ายกระโดดหนึ่งครั้ง
กลุ่มที่ 3
-การใช้เกณฑ์แอบเปิ้ลอาจจะใช้สีเขียวหรือสีแดงก็ได้
กลุ่มที่ 4 
-ผ่านภาพการศึกษา อันนี้เป็นสื่อแบบนามธรรม ผ่านเกมการจัดกลุ่มอันไหนที่เป็นสัตว์หรือผลไม้
กลุ่มที่ 5
-สัตว์มีปีกกับไม่มีปีก ควรแยกแยะและการเรียงลำดับร่วมกับการใช้สัญลักษณ์ที่หลากหลายก่อนเรียงลำดับเด็กจะต้องรู้ค่าก่อน
กลุ่มที่ 6 
-การนับเลขคือการทำผ่านสือถ้าเป็นเด็กๆให้จับได้และ การเขียนรอยปะ
กลุ่มที่ 7
-การแยกผลไม้ การลบว่าผลไม้มีทั้งหมดกี่ผล
กลุ่มที่ 8
-การนับจำนวน การตัดแปะหลักหน่วย หลักสิบ
กลุ่มที่ 9
-สื่อในการนับมือ มีรูปภาพประกอบเพลงได้
กลุ่มที่ 10
-การเรียงลำดับ มด ไก่ สุนัข ช้าง การวัดปริมาณ การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า หรือเท่ากัน



 

เพลงในวันนี้
เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามั่วเชเชือน เดินตามเพื่อนให้ทัน
เข้าแถวพลันว่องไว้

เพลงจัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาในท่ายืนตรง

เพลงซ้าย ขวา
ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ

เพลงพาเรดตัวเลข
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน
1 2 3 4 5 6 7 8 9 และก็10
ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย ชูมือขึ้นข้างบน
หมุนมือลงข้างล่าง ซ้ายขวาซ้าย ซ้ายขวาซ้าย
มาพวกเรามาเดินเรียงแถวพร้อมกัน (ซ้ำ)

การนำไปยุกต์ใช้

1.)สามารถนำเอากิจกรรมที่เพื่อนๆทำกันไปต่อยอดแล้วทำออกมาใช้กับเด็กๆ
2.)สามารถจัดรูปแบบการบูรณาการที่หลากหลายได้ และพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน

 ประเมินผล
ประเมินตนเอง: วันนี้ดิฉันตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์พูดแล้วร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ
ประเมินเพื่อน :  วันนี้เพื่อนร่วมกันทำกิจกรรมดีมาก มีการตอบคำถาม และก็ไม่คุยกันเสียงดัง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์บอกแนวการจัดกิจกรรมและสาระทางคณิตศาสตร์ วิธีการจัดการเรียนรู้ได้ละเอียดมากและสอนร้องเพลง


วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปบทความคณิตศาสตร์

สรุปบทความคณิตศาสตร์





คลิกดูบทความทางคณิตศาสตร์ที่นี้

ชื่่อบทความ : เจาะคณิตศาสตร์ปฐมวัย พ่อแม่ทราบไม่ว่าลูกๆ เรียนอะไรกัน
โดย: คุณ นงลักษณ์ ศรีสุวรรณ



เด็กเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

- เด็กได้เรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- เด็กมีความรู้ความ เข้าใจในคณิตศาสตร์เช่น เรื่องการวัด จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด   ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ เป็นต้น
- เด็กเรียนรู้ถึงการ การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
- เด็กได้เรียนรู้ และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรม และเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้



การนำไปประยุกต์ใช้



1.) สามรถนำไปปรับใช้กับเด็กได้และนำไปจัดกิจกรรมใช้กับเด็กได้จริงและสามารถแตกความคิดและบูรณาการกิจกรรมให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

2.) ทำให้รู้และเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ กระบวนการการคิด การแก้ปัญหา ของเด็ก

3.) สามารถรู้แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ